ISO 9001 Quality Management Systems
เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร
ISO 14001 Environmental management Systems
มาตรฐานสากลฉบับนี้มีเจตนารมณ์เพื่อใช้สำหรับองค์กรที่ต้องการบริหารจัดการกับความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของตนอย่างเป็นระบบ โดยใช้ข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ในมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
IATF 16949 Quality Management Systems for Automotive Industry
เป็นมาตรฐานข้อกำหนดเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specification: TS) ที่เป็น แนวทางของข้อกำหนดระบบบริหารงานคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก
ISO 13485 Quality management systems for Medical devices
เป็นระบบมาตรฐานการจัดการด้านคุณภาพซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ พัฒนา ผลิต และ ขาย เครื่องมือทางการแพทย์ข้อกาหนดของระบบนี้มีการน าไปใช้ในระดับนานาชาติ
ISO 45001 Occupational Health and Safety
มาตรฐานระดับสากลใหม่เพื่อการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยที่จะมาแทนมาตรฐาน OHSAS 18001 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
GHP Good Hygiene Practices
มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ เป็นเกณฑ์ควบคุมการผลิต ตลอดจนกระบวนการควบคุมให้ปฏิบัติตามของกองบริหารคุณภาพผลิตภัณฑ์แห่งรัฐหรือชุมชนนั้นๆ เพื่อการวิจัย การผลิต การบริโภค และการประกอบการค้าที่ดีขึ้น
HACCP Hazard Analysis Critical Control Point
ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก เพื่อรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร
ISO 50001 Energy Management Systems
คือ ระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล หรือเรียกอย่างย่อว่า EnMS ระบบแรกในโลกที่พัฒนาขึ้นจากมาตรฐานระดับชาติและภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งมาตรฐาน ISO 50001 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้องค์กรดำเนินการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ISO/IEC 17025 Testing And Calibration Laboratories
มาตรฐานสากลซึ่งเป็นการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ครอบคลุมทุกด้านของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างถึงความชำนาญในการวิเคราะห์ทดสอบ ถึงการเก็บบันทึกและการรายงานผล
ISO 22000 Food Safety Management System
ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารเป็นมาตรฐานระบบบริหารความปลอดภัยของอาหารในระดับสากล โดยเป็นข้อกำหนดสำหรับองค์กรในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร
ISO 26000 Social Responsibility System
มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากในปัจจุบันนี้หลายๆ องค์กรได้เริ่มให้ความสนใจในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนั่นก็คือ มาตรฐาน ISO 26000 ที่องค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และส่วนภาคของสังคม สามารถนำแนวทางหรือข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัด
SA 8000 Social Accountability
มาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม กฎเกณฑ์ การปฏิบัติ การใช้แรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน การมีมาตรฐานแรงงาน เพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียมเสมอภาค ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิต มีความปลอดภัย มีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และมีขวัญกำลังใจในการทำงาน